WELCOME TO BANYAT ' S ENGINEERING INFO

ENGINEERING ARTICLES

AIR CONDITION


การทำงานของระบบทำความเย็น

แสดงวัฏจักรการทำงานของระบบทำความเย็น
หมายเลข 1 คือ อีแวบโปเรเตอร์ ( Evaporator ) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอยล์เย็น มีหน้าที่รับความร้อนจากภายในห้อง
ทำให้ห้องที่เราอยู่อาศัยหรือทำงานมีอุณหภูมิเย็นลง และรู้สึกเย็นสบาย โดยจะมีของเหลวชนิดหนึ่งเป็นสื่อที่จะ
พาความร้อนออกไปทิ้งข้างนอก เรียกว่า สารทำความเย็น
หมายเลข 2 คือ คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) ทำหน้าที่เพิ่มความดันให้แก่สารทำความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น
หมายเลข 3 คือ คอนเด็นเซอร์ ( Condensor ) หรือ คอยล์ร้อนทำหน้าที่ทิ้งความร้อนที่อยู่ในสารทำความเย็น
ออกไปภายนอกอาคาร
หมายเลข 4 คือ วาล์วลดความดัน ( Throttle valve )ทำหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็น

ความร้อนและน้ำมีความคล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งก็คือ น้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ ความร้อนก็จะถ่ายเทจากที่ๆมีอุณหภูมิ
ไปยังที่ๆมีอุณภูมิต่ำกว่า โดยวิธีการนำ ( conduction ) , การพา ( convection ) และ การแผ่รังสี ( radiation )
หลักการทำงานของแอร์ก็คือ การนำความร้อนจากในห้องออกไปทิ้งนอกห้อง โดยอาศัยสารทำความเย็นเป็นตัวรับ
ความร้อนและนำไปทิ้ง ซึ่ง สารทำความเย็นที่เรารู้จักกันดีก็อย่างเช่น R134a , R22 ซึ่งในปัจจุบันนี้ สารทำความเย็น
ที่ใช้ในรถยนต์มักจะเป็น R134a เนื่องจากเหตุผลทางด้านความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

เมื่อเราเปิดแอร์และตั้งความเย็นไว้ที่ อย่างเช่น 25 o C เครื่องทำความเย็นก็จะตรวจจับอุณหภูมิ
ภายในห้องที่ต้องการทำความเย็นว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าค่าที่ต้องการหรือไม่ เมื่อสูงกว่า ก็จะเริ่มทำงาน
เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านท่อ ในส่วนของคอยล์เย็นที่ติดตั้งภายในห้อง ก็จะรับความร้อนจากภายในห้องทำให้
ผิวท่อของคอยล์เย็น มีอุณภูมิลดต่ำลง และเมื่อพัดลมที่ติดตั้งอยู่เป่าลมผ่านคอยล์เย็นนี้ออกมาก็จะทำให้เรา
รู้สึกเย็นสบาย เครื่องทำความเย็นก็จะทำงานไปเรื่อยๆตราบเท่าที่อุณหภูมิภายในห้องยังไม่ลดต่ำลงจนถึง
ค่าที่เราตั้งเอาไว้ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดต่ำลงจนถึงค่าที่เราตั้งไว้ คือ 25o C เครื่องก็จะหยุดทำงาน
ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องเข้าใจว่า การปรับอุณหภูมิให้ต่ำเกินไปก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี และไม่ถูกต้องเนื่องจาก
เครื่องทำความเย็นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้ สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า , เครื่องทำงานหนัก เสียบ่อย เป็นต้น
และอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ในห้องที่ต้องการปรับอากาศ ไม่ควรเปิดประตูทิ้งไว้ เนื่องจาก
ความร้อนจากภายนอกห้องจะถ่ายเทผ่านเข้ามา และ จะไปเพิ่มภาระให้กับเครื่องทำความเย็น
อีกทั้ง การเปิดไฟ วัตต์สูงๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แผ่ความร้อนออกมามาก ก็ไม่ควรนำมาใช้ในห้องเช่นกัน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้
จะไปเพิ่มภาระให้กับเครื่องทำความเย็นนั่นเอง

MAIN MENU

[Easy Formula] [Cyclone Calculation] [Pitot Tube] [Ventilation by Solar Cell] [Air Condition]
[Easy Calculation of Solar Drying] [Hydraulic Ram] [Mengineer Web Board]
[The Loan Payment Calculator] [Engineering Conversion Factors] [Fluid Flow Calculator]